วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

           พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  ฉบับนี้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 

วันที่  18  กรกฎาคม  2550  เป็นต้นไป









หลักการและเหตุผลที่ต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

พ.ศ. 2550

          หลักการ คือ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


    เหตุผล คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการ

และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงาน

ตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้หรือวิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้

ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบ

คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด

ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและ

ศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว 

จึงจำเป็นต้องตามพระราชบัญญัตินี้

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ

ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

   มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ

คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา

นุเบกษาเป็นต้นไป

   มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์

ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด 

และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

         “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของ

ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ  

ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

         “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

       (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกัน    

โดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง 

หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอืน

       (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

      “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการ

หรือไม่ก็ตาม

      “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี

      “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้        
       
   มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราช

บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑ : ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  
  มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ

มาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ


  มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น เป็นการเฉพาะ

ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะ

และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือ

ทั้งจำทั้ง ปรับ

   มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ 

ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น

มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง

ส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง

แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้

อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือ

ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคล

อื่น โดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

  มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

          (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที

หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้น พร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน

สองแสนบาท
          
          (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ

ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ   

ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูล

คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี

ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้

อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
           
    มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็น เครื่องมือ

ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ

มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ

ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           
           (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง 

ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
           
           (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่า

จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                        
           (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับ

ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                        
           (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก

และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                        
           (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์

ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

     มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ 

ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม

มาตรา ๑๔






      
      
     มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล 

คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ

ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อ

เสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่

เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดย

สุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายใน

ความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้อง

ทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

     มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
            
             (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิด

ขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

             (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสีย

หายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้อง รับโทษภายในราชอาณาจักร










หมวดที่ 2 : พนักงานเจ้าหน้าที่            
     มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี

เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่าง

หนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความ

ผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด
                    
             (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระ

ราช บัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่

อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                        
             (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร

ผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                       
             (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ 

หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้า หน้าที่
                       
             (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบ

คอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบ

คอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                       
             (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้

เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                       
             (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร

ทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้

เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่ง

ข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                        
             (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่

เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับ

พนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                        

             (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบ

รายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
     มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) 

และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ พนักงานเจ้า

หน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะ

กระทำการอย่าง หนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของ

การกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่

สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว 

เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึก

เหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจ ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้

เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้

ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้า ในการดำเนินการตามมาตรา 

๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่ง

การดำเนินการให้ศาลที่มี เขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลัก

ฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้

ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ

เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ 

(๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ ครอบครอง

ระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ 

ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลา

ยึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบ วัน 

เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืน

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็น

ไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 
            
      มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่ง 

ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่ กำหนดไว้ในภาค

สองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบ

เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจ

ยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่ หลายซึ่ง

ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม

วรรค หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการ

ทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ ได้

      มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง

ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม 

จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย

หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่

ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตาม วรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผล

ทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูก

แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการ

อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดัง

กล่าว ข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

      มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร

ทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรค

หนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ

นี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจ หน้าที่โดยมิชอบ 

หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูล 

คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้

บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้า

หน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้

เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

     มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วัน

นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้

ใดเก็บรักษา ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะราย

และเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ สามารถระบุ

ตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็น เวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้

บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตาม

ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่

เกินห้าแสนบาท

     มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ 

หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสน

บาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพัน บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
     
     มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มี

ความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
            
     มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่าย

ปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือ

รับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ 

ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่

เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมาย

วิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนิน

การ ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและ

รัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

      มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่ง

เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจา

นุเบกษา


                                           
                                           ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา
  เล่มที่ ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๔ – ๑๓
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕o


ที่มา : https://sites.google.com/site/41426boat/ph-r-b-wa-dwy-ka-rk-rathaa-khwam-phid-keiyw-kab-

khxmphiwtexr-ph-s-2550

          http://labnakonpathom.com/2011-08-27-07-11-35/84--2550

          http://www.hotsiam.com/tag-html

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เสิร์ชเอนจิน (search engine)

                       
                  เสิร์ชเอนจิน (search engine) 








            เสิร์ชเอนจิน (search engine)  คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

 รายชื่อเสิร์ชเอนจิน (search engine)เรียงลำดับตามความนิยม


         สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา


1.กูเกิ้ล (Google) 49.2%
2.ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
4.เอโอแอล (AOL) 6.3%
5.อาสก์ (Ask)
6.อื่นๆ 8.5%

เสิร์ชเอนจิน (search engine)อื่นๆ
  • ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
  • คูล (Cuil)
  • ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย

เสิร์ชเอนจิน (search engine)ในอดีตที่เลิกใช้งานแล้ว


ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค


หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน (search engine)

  • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
  • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
  • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล


ประเภทของเสิร์ชเอนจิน (search engine)







       ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
       Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
      1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
      2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robotsตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com

Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo,MSNLiveSearchTechnorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ
             ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
             Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้


ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น GoogleAOLYahooNetscapeและอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ
        ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
        Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine

  • ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
  • สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
  • สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
  • มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
  • รองรับการค้นหา ภาษาไทย




           ภาษาไทย เป็นภาษาที่มีความหลากหลายทางกายภาพ ทำให้การค้นหาข้อมูลมีความยากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง หลายต่อหลายครั้งที่เราค้นหาข้อมูลด้วย Keyword ที่เป็นภาษาไทย จะไม่พบข้อมูลที่ต้องการ หรือบางครั้งไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ครบถ้วน ด้วยความหลากหลายทางกายภาพของภาษาไทยนี้ จึงทำให้เกิดไอเดียในการผลิต Search Engine ที่มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


เทคนิคในการค้นหา (Search Tips)

         1. 
เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ
          ถ้าคุณต้องการค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรเฉพาะเจาะจงลงไป คุณควรเลือกใช้ผู้ให้บริการแบบไดเร็กทอรี่ส์ อย่าง yahoo เพราะคุณมีโอกาศพบกับไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ง่ายกว่าแบบ (Eearch Engine)  แต่ถ้าเรื่องที่คุณต้องการค้นหา มีลักษณะเฉพาะเจาะจง แลเมีกรอบจำกัด เช่น ขอมูลส่านตัว คุณควรใช้ระบบ Search Engine โดยผู้ให้บริการแบบนี้ได้แกร Inforseek หรือ AltaVista

         2. 
ใช้บริการของผู้ที่ให้บริการเฉพาะด้าน
         ในบางกรณี คุณอาจต้องเลือกใช้ผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เพราะจะให้ผลการค้นหาได้ดีกว่า อย่าง AltaVista หรือ Yahoo ผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ เช่นถ้าคุณต้องการค้นหาประวัติดารา คุณควรเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต Movie Database เพราะ จะได้ผลการค้นหารที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการมากกว่า

         3. 
การใส่เครื่องหมายคำพูด () ลงในกลุ่มคำหรือชื่อคน
         ถ้าคุณต้องการใช้ชื่อหรือกลุ่มคำในการค้นหา เช่น Benjamin Flankin เป็น ketword สำหรับค้นหา คุณควรใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้พวก Searh Engine จะแสดงผลการค้นหาไซร์ที่มีคำสองคำนี้อยู่ติดกันออกมาเท่านั้น เพื่อลดโอกาศที่คุณจะพบไซร์ที่ประกอบด้วยคำใดคำหนึ่ง อย่างเช่น Benjamin Spock หรือAretha Flankin เป็นต้น

         4. 
การขึ้นต้นควรใช้ตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก
          ถ้าคุณใส่คำ keyword โดยใช้ตัวอักษรเล็กเท่ากันหมด เครื่องมือค้นหาจะแสดงผลการค้นหาของไซร์ ต่างๆ ที่มีคำที่เราใส่ลงไป โดยไม่จำเป็นว่า ขนาดของตัวอักษรจะใหญ่ หรือเล็ก คังนั้น คุณควรใช้ตัวอักษรใหญ่(Capital Letter) ในกรณีที่คุณต้องการให้ได้ไซร์ที่เหมือนกับคีย์เวิร์ด ทุกประการ

         5. 
หลีกเลี่ยงการใช้คำสามัญ
          ถ้าคุณเลือกใช้คำสามัญธรรมดา อย่าง shoping หรือ shop เป็นคีย์เวิร์ด บางครั้งผลการค้นหาที่ออกมา อาจมาก
มายเป็นหมื่น ๆ ไซต์ ดังนั้น คุณควรเลือกใช้คำที่ไม่ธรรมดามากขึ้นเพื่อลดช่องว่างในการค้น และให้ได้ ผลลัพธิ์ที่จำกัดวงมากขึ้น เช่น อาจใช้คำเหมือน (Synonyms) เป็นต้น


         6. 
ควรใช้คำมากกว่าหนื่งคำเป็น keyword
การใช้ keyword มากกว่าหนื่งคำเป็น วิธีกำจัดการค้นให้แคบลง หรือเฉพาะเจาะจงมากขึ้น อย่างเช่น ถ้าคุณต้องการค้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ชอง Mexico คุณอาจใช้กล่มคำเป็น keyword ดังนี้ travel AND Mexico ซึ่ง ANDในที่นี้จะเป็นตัวเชื่อมคำ ที่ทำให้การค้นหาจะนำเอาเฉพาะเอกสาร หรือไซต์ที่มีคำสองคำนี้มาแสดงเท่านั้น(Note: แต่การใช้ AND ไม่เหมือนกับการใส่เครื่องหมายคำพูด กลไกการคันหาจะแสดงแต่ไซต์ที่ มีคำสองคำนี้ ออกมาเท่านั้น ส่วนการใส่เครื่องหมายคำพูด จะเป็นการสั่งให้ตัวคั้นหานำเอาใซต์ที่มี คำสองคำนี้อยู่ติดกันมาแสดง)

         7. 
การตัดคำที่คุณไม่ต้องการให้กลไกค้นหาแสดงออกมา
          ถ้าคุณต้องการตัดคำดังกล่าว สามารถทำได้โดย อาจใส่เครื่องหมาย ลบ (-) หรือใส่คำว่า (NOT) อย่างเช่น ถ้าคุณต้องการค้นหาไซต์ที่เกี่ยวกับการแข่งจักรยานยน คุณอาจเขียนว่า racing AND bike NOT car จากคำสั่งนี้เป็นการตัดคำว่า car ออกไป

          8. 
การค้นหาโดยใช้ Wildcard
          กลไกการค้นหาบางตัว คุณสามารถใช้ไวลด์การ์ด ที่อยู่ในรูปของดอกจัน (*) เพื่อให้ได้ผลการค้นหาของ คำได้หลากหลายขึ้น อย่างเช่น คำที่คุณใส่ลงไปคือ cook* ผลที่ออกมาก็จะมีคำเหล่านี้ออกมาด้วย คือ cooking, cooks,cookbooks, cookie ฯลฯ
ประเภทของผู้ให้บริการการค้นหา

          ประเภทของผู้ให้บริการการค้นหาได้ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามกลไกการทำงานของการให้บริการ คือ
         

          1. ไดเร็กทอรี่ส์ (Directory) ผู้ให้บริการแบบนี้เช่น Yahoo และ Magellan กลไกการทำงานของ searchประเภทนี้เกิดจากการจัดหมวดหมู่ของไซต์ต่างๆ โดยใช้มนุษย์เป็นผู้รวบรวมขึ้น โดยผู้จัดทำเป็นผู้กำหนดหมวดหมู่ ต่างๆ ขึ้นมาก่อน ต่อจากนั้น จะนำไซต์ต่างๆ เข้าไปไว้ในหมวดหมู่ที่ได้จัดเอาไว้ ตอนแรก ไซต์ที่แสดงออกมานั้น ผู้ให้บริการก็ได้จัดเรียงไซต์โดยนำไซต์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ไว้ตอนบนสุดของรายชื่อ ทั้งนี้ คุณอาจค้นหาโดยคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ใน Yahoo ก็ได้เพื่อให้ได้ผลลึกลงไปอีก แต่ทั้งนี้การค้น หาก็จะเป็นไซต์อยู่ในระบบของ Yahoo เท่านั้น ไม่ใช้ค้นหาจากไซต์ที่มีอยู่ทั้งหมดบน อินเตอร์เน็ต เช่น ถ้าต้องการค้นเรื่อง Basketball คุณก็เข้าไปเลือกหมวดหัวข้อหลัก Recreation and Sports และต่อจากนั้นก็เข้าไปในหัวข้อย่อยที่อยู่ในหมวดหลักนั้นๆ อย่างเช่น Sports ต่อจากนั้นคุณ จะพบคายชื่อหัวข้อย่อยซึ่งจะมี Basketball อยู่ และเมื่อคุณเลือกเข้าไปดูในหัวข้อ Basketball คุณก็จะพบรายชื่อไซต์ต่างๆ เกี่วยกับ Basketball อย่างเดียว

ข้อดี ของการค้นหาแบบนี้ก็คือ ใช้ง่าย รวดเร็วและ ประหยัดเวลา ผู้ค้นหาจะสามารถค้นหาข้อมูล ที่ต้องการจากหัวข้อหลักๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้น จึงเหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการหา keyword หรือเรื่อ ทั้วๆ ไป ไม่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจอะจงข้อเสีย ก็คือ อาจไม่ได้ข้อมูลที่ดีที่สุด อาจไม่ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการ หรือบางทีอาจไม่สามารถหาสิ่งที่คุณต้องการได้เลยถ้า keyword นั้นไม่มีใน ฐานข้อมูลของ Yahoo.

         2. 
Search Engine ระบบฐานข้อมูลของประเภทนี้จะถูกจัดทำขึ้น โดยซอฟต์แวร์ที่นิยมเรียกกันว่า Robots หรือ Spiders ซึ่งในการทำงาน โปรแกรมหุ่นยนต์ หรือ แมงมุมนี้ก็จะลัดเลาะไปตามเครือ ข่ายที่โยงใยกัน เต็มไปหมดบนอินเตอร์เน็ต เพื่อเก็บช้อมูลของเว็ปไซต์ต่างๆ ว่ามีไซตร์ไหนบ้างที่เกิดขึ้นใหม่ หรือไซต์ไดอัพเดตบ้าง แล้วนำข้อมูลที่สำรวจได้มาใส่ไว้ในฐานข้อมูลของตน  ผู้ให้บริการประเภทนี้ที่นิยมก็เช่น AltaVista, Excite, Inforseek, และ Lycos ฯลฯ โดยถ้าคุณใช้คำว่า Basketball เป็น keyword ผลที่ออกมาก็จะได้ไซต์ทั้งหมดที่มีคำว่า Basketball บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจมีมากมายเป็นหมื่นก็ได้ เพราะจะรวมถึงเว็ปไซต์ที่มีคำว่า Basketball ซี่งเนื้อหาข้างในอาจไม่เกี่ยวข้องกับ Basketball เลยก็ได้ นี้เองคือความแตกต่างระหว่าง Search Engine และ Directory ผลที่ได้จาการค้นของ Search Engine มักรวมเอาไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องน้อห หรือบางทีไม่เกี่ยวข้อง กับสิ่งที่ค้นหาเลย ก็เกิดจากการที่มักใช้ระบบการค้นหาที่มี สูตรเฉพาะเรียกว่า Algorithm-อัลกอริธึม เป็นตัวกำหนดว่าไซต์ไหนบ้างเกี่ยวข้องกับ keyword ที่คุณกำลังหาอยู่ข้อดี ก็คือ ผลที่ได้ออกมามีลักษณะ การแสดงออกมากว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง โดยผลที่ได้จะมีเป็นร้อยๆ พันๆ ไซต์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีอยู่จริงบนอินเตอร์เน็ตทั้งหมด และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการค้นหาคำ หรือ keywordที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น ชื่อคน Jhon lennon หรือ ชื่อไวน์ฝรั่งเศส (French wine) เพื่อให้ได้สิ่งที่มีความหมายและเกี่ยวข้องกับ keyword ที่คุณกำลังมากที่สุด ซึ่งคุณอาจหาไม่พบเลย ถ้าใช้ระบบ Directoryข้อเสีย คือคุณต้องเสียเวลาค้นไซต์ แยกแยะไซต์ที่ต้องการจากรายชื่อที่แสดงออกมาในครั้งแรก ถึงแม้ระบบจะจัดพยายามจัดเรียงลำดับความเกี่ยวข้องให้จากน้อยไปหามาก แต่ด้วยการกำหนดความเกี่ยวข้องที่ว่านี้ ด้วยการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ จึงทำให้ผลที่ได้ออกมาไม่สมบูรณ์









ที่มา :
http://www.clickmedesign.com/article/search-engine.html
http://th.wikipedia.org/wiki
http://krukoon.wordpress.com/2010/04/19/search-engine
http://www.nysiissolutions.com/news/03.html
http://www.yoyoo.com/webdesigntoolthai_real/tipcgi/cg_19db.htm